แพ้ท้อง 3 ใน 4 ของคุณแม่ตั้งครรภ์ มักมีอาการคลื่นไส้ในช่วงไตรมาสแรก หรือเริ่มต้นช่วงอายุครรภ์ราวๆ 6 สัปดาห์ ในขณะที่คุณแม่บางคนเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์เพียง 4 สัปดาห์ และอาการนี้จะเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นในเดือนต่อๆ ไป ก่อนจะค่อยๆ ทุเลาลงในช่วงอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ แม้ว่าจะไม่ใช่อาการที่ร้ายแรง แต่การแพ้ท้องก็สร้างความรู้สึกไม่สบายให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ไม่น้อย

แพ้ท้อง มีอาการอย่างไร

อาการแพ้ท้อง คือกลุ่มอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการคนท้องระยะแรกที่เป็นสัญญาณเตือนให้คุณแม่รู้ว่ากำลังตั้งท้อง โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการช่วงเริ่มต้นตั้งครรภ์ และอาการจะเริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อเข้าช่วงสัปดาห์ที่ 12-14 ของการตั้งครรภ์ โดยประมาณ 50% ของผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียน อีก 25% มีเพียงอาการคลื่นไส้ และอีก 25% ไม่พบอาการผิดปกติอะไรเลย ความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียนนั้นหลากหลายมากในแต่ละคน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่รุนแรงถึงขั้นต้องเข้าปรึกษาแพทย์อย่างไรก็ตาม ว่าที่คุณแม่ราว 1-2% ต้องพบกับอาการอย่างรุนแรง หรือที่เรียกทางการแพทย์ว่า Hyperemesis Gravidarum (HG) ซึ่งทำให้เกิดการอาเจียนบ่อยครั้ง และส่งผลให้ผู้ป่วยเสียปริมาณของเหลวและเกลือแร่ในร่างกายไปจำนวนมาก ซึ่งอาการเช่นนี้จำเป็นต้องรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาเฉพาะทาง

อาการแพ้ท้องสามารถพบได้หลายรูปแบบ ดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อยในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ คล้ายกับอาการเมารถ หรือเมาเรือ
  • ไวต่อกลิ่นและรสชาติ ช่วงที่มีอาการอาจรู้สึกไม่ชอบกลิ่นหรือรสชาติของอาหารบางอย่าง อาหารที่เคยชอบก็อาจจะไม่ชอบแล้ว หรืออาจรู้สึกว่ามีรสโลหะอยู่ในปาก
  • หิวบ่อย ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่มักจะกินเยอะกว่าปกติ เพราะพลังงานจากอาหารที่กินเข้าไป จะต้องแบ่งไปหล่อเลี้ยงทั้งร่างกายของตนเองและทารกในครรภ์ด้วย
  • ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงการไหลเวียนโลหิตที่ส่งไปยังไตมากขึ้น จึงกระตุ้นให้มีการปัสสาวะบ่อย
  • กรดไหลย้อน แม่ตั้งครรภ์หลายท่านมีอาการกรดไหลย้อนขณะตั้งครรภ์ เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารก็ได้รับผลกระทบด้วย ดังนั้น จึงอาจมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารและระคายเคืองหลอดอาหาร หรือทำให้รู้สึกแสบที่ลิ้นปี่

สาเหตุของการแพ้ท้อง

ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีการค้นพบตัวแปรสำคัญที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ท้องไว้มากมาย เช่น ปริมาณเอสโตรเจนที่สูงขึ้น ระดับฮอร์โมน โกนาโดโทรปิน ที่สูงขึ้น (hCG) การขาดสารอาหารบางชนิด (เช่นการขาดวิตามิน B6 จากการกินอาหาร) หรือปัญหาที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

มีหลายการศึกษาที่พบว่า ฮอร์โมน hCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ระยะแรก โดยคุณแม่ที่มีระดับฮอร์โมน hCG สูงก็จะยิ่งมีอาการแพ้รุนแรงมากขึ้น

ฮอร์โมน hCG คือฮอร์โมนที่จะตรวจพบในเลือดและปัสสาวะเมื่อมีการตั้งครรภ์ โดยจะถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์ในไข่ที่ถูกผสมและจะกลายเป็นรกต่อไป หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นฮอร์โมนเกิดจากรกนั่นเอง มีหน้าที่กระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนอื่นๆ

ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนตัวสำคัญที่จะต้องสร้างก็คือ “เอสโตรเจน” กับ “โพรเจสเตอโรน” ช่วงแรกที่ไข่เริ่มมีการผสม รกยังไม่เจริญเต็มที่ จึงต้องมีฮอร์โมน hCG เพื่อไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนตัวอื่นๆ แต่เมื่อรกเริ่มเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว รกก็จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนตัวอื่นแทนรังไข่ ฮอร์โมน hCG ที่ถูกสร้างมาเพื่อกระตุ้นรังไข่ก็จะลดน้อยลงไป เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รกเจริญเต็มที่แล้ว ถ้าทำการตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ก็อาจให้ผลลบได้ เนื่องจากฮอร์โมน hCG มีระดับต่ำลงนั่นเอง และอาการแพ้ท้องก็จะค่อยๆ ลดลง

ฮอร์โมน hCG มีผลทำให้คุณแม่เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ หากคุณแม่ที่มีอาการแพ้มากๆ เพราะมีฮอร์โมน hCG สูง ก็อาจต้องตรวจเพิ่มเติมว่ามีภาวะผิดปกติ เช่น ตั้งครรภ์แฝด หรือรกเจริญผิดปกติหรือไม่

อาการเริ่มแรกและวิธีแก้อาการแพ้ท้อง

มักจะเริ่มขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณสัปดาห์ที่ 6 หรือเรียกง่ายๆ ว่า ท้องได้ 2 เดือนแล้วจึงเริ่มมีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้น ซึ่งระยะเวลานี้มักเป็นช่วงที่ผู้หญิงจะเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติของร่างกายที่กำลังบ่งบอกได้ว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น อาการแพ้จะเริ่มในสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ และจะรุนแรงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 8-12 ก่อนจะค่อยๆ ทุเลาลงหรือหายไปเองในช่วงสัปดาห์ที่ 14 อย่างไรก็ตาม แม่ท้องหลายคนก็อาจจะมีอาการยาวไปจนกระทั่งใกล้คลอดเลยก็ได้เช่นกัน

วิธีแก้อาการแพ้ท้อง

  • เมื่อรู้ตัวว่ามีอาการควรดื่มน้ำมากๆ แต่อย่าดื่มร่วมกับอาหารหรือหลังอาหารทันทีให้ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหารสัก 30 นาที และระหว่างวันให้จิบน้ำบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการขาดน้ำฝานขิงอ่อนเป็นแผ่นบางๆ แช่ในน้ำร้อน แล้วค่อยๆ จิบ จะช่วยให้อาการคลื่นไส้ อาเจียน ดีขึ้น
  • ควรหลีกหนีให้ไกลจากกลิ่นที่ทำให้ท้องของคุณแม่ปั่นป่วน หากจำเป็นต้องปรุงอาหาร ให้เปิดหน้าต่างหรือเปิดพัดลมดูดกลิ่น และแม้จะไม่รู้สึกหิว คุณแม่ก็ควรพยายามบังคับตัวเองให้กิน เพราะการที่ท้องว่างจะทำให้อยากอาเจียนได้ง่ายกว่าเมื่อมีอาหารอยู่ในท้อง อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจกินอาหารในแต่ละมื้อได้ไม่มาก ให้แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ แต่กินหลายๆ มื้อแทน อาจจะแบ่งมื้ออาหารเป็น 5-6 มื้อต่อวันเลยก็ได้ จะช่วยให้ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการ
  • การกินอาหารที่มีโปรตีนสูงบางชนิดไม่เหมาะเป็นอาหารคนท้อง อาจทำให้อาการแพ้หนักขึ้น เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู อาจลองกินเนื้อปลา ไข่ต้มสุกแทน ก็จะช่วยให้ดีขึ้นได้
  • ควรหลีกเลี่ยงอาหารมันและรสเผ็ด หรืออาหารรสจัด มีเครื่องเทศมาก เนื่องจากทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่นหน้าอกได้ง่าย หมั่นดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดี อย่าปล่อยให้ท้องว่างนานเกินไป
  • หากรู้สึกหิวควรหาอาหารหรือของว่างกิน คุณแม่จึงควรมีขนมของขบเคี้ยวที่มีโปรตีนสูงไว้ใกล้มือ เพื่อหยิบกินได้ง่าย เช่น ขนมจำพวกถั่ว,เครื่องดื่ม หรือขนมที่ทำจากถั่วเหลือง เพราะดีต่อผู้หญิงที่มีอาการแพ้ท้อง
  • อาการแพ้จะทุเลาได้ หากคุณแม่กินขนมปังจืดหรือขนมปังกรอบธัญพืชสัก 1-2 ชิ้นก่อนเข้านอนตอนกลางคืน เพื่อไม่ให้ท้องว่างนานเกินไป หรือกินอาหารเบาๆ เช่น แครกเกอร์หรือเครื่องดื่มอุ่นๆ ก่อนนอน จะทำให้หลับสบาย
  • ควรเตรียมเครื่องดื่มหรือแครกเกอร์ไว้ใกล้ๆ เตียง เพื่อตอนเช้าตื่นขึ้นมา จะได้ดื่มเครื่องดื่มที่เตรียมไว้หรือกินแครกเกอร์เมื่อตื่นนอนขึ้นทันทีก่อนลุกจากเตียงไปทำกิจวัตรประจำวัน เพราะจะช่วยไม่ให้วิงเวียนจากอาการท้องว่าง และลดการเกิดอาการได้

แพ้ท้อง

อาการแพ้ท้องแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์

อาการแพ้ท้องหนักมาก มักจะเกิดขึ้นเพราะร่างกายมีระดับของฮอร์โมนสูงขึ้นกว่าปกติ เช่น ฮอร์โมน hCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนการตั้งครรภ์ และฮอร์โมนเอสโตรเจน การเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนเหล่านี้จึงมักส่งผลให้รู้สึกคลื่นไส้และอาเจียนมากผิดปกติ อย่างไรก็ตามมักไม่อันตรายรุนแรงถึงชีวิต เว้นเสียแต่ว่าจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • คลื่นไส้หนักทั้งวันจนไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำได้
  • อาเจียนวันละ 3-4 ครั้ง จนไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำได้
  • อาเจียนออกมาเป็นสีน้ำตาล หรือมีเลือดปน
  • น้ำหนักลดลง หรือน้ำหนักลดลงจนผิดปกติ
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
  • มีภาวะขาดน้ำ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • อ่อนเพลียมาก
  • มีอาการเพ้อ หรือสับสน
  • มีกลิ่นปากหรือกลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์

หากมีอาการดังที่กล่าวมา ควรไปพบแพทย์ทันที

ไขข้อข้องใจเรื่องอาการแพ้ท้อง

1. พะอืดพะอม แก้ยังไง

หากมีอาการพะอืดพะอมจนอยากจะอาเจียน ให้เริ่มปรับจากอาหารการกิน ดังนี้

  • กินของว่างจำพวก แครกเกอร์ ธัญพืช หรือผลไม้ โดยกินทันทีก่อนที่จะลุกออกจากเตียง เพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนไหวในขณะที่ท้องว่าง
  • แบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5-6 มื้อ หรือกินหลายๆ มื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องว่าง
  • จิบชา น้ำผลไม้ หรือน้ำเปล่าบ่อยๆ เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ

2. อยากกินของเปรี้ยว เกิดจากอะไร

อาการแพ้ท้องนั้นมักส่งผลให้จะกินหรือดื่มอะไรก็ลำบาก บางครั้งแค่ดื่มน้ำเปล่าก็ทำให้รู้สึกอยากจะอาเจียนขึ้นมาได้ ทั้งยังไวต่อรสชาติและกลิ่นกว่าปกติ ทำให้ต้องหาอะไรมากินแก้แพ้ ซึ่งอาหารที่มีรสเปรี้ยวก็มักจะตอบโจทย์ในข้อนี้ เพราะอาหารหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวซึ่งมีความเป็นกรดจะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของต่อมน้ำลาย ช่วยปรับรสชาติภายในปาก ทำให้เจริญอาหารมากขึ้นได้

3. มวนท้อง ท้องอืดขณะตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่

อาการมวนท้อง ท้องอืดนั้นสามารถพบได้โดยทั่วไปทั้งก่อน ระหว่าง หรือหลังตั้งครรภ์ แต่ช่วงที่ตั้งครรภ์นั้นจะพบกับอาการนี้บ่อยเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เมื่อเพิ่มระดับมากขึ้นก็จะไปกระตุ้นให้เกิดการคลายกล้ามเนื้อในร่างกายมากขึ้น ซึ่งรวมถึงกล้ามเนื้อในลำไส้ด้วย และเมื่อกล้ามเนื้อในลำไส้คลายตัวก็จะทำให้กระบวนการย่อยอาหารทำได้ช้าลง ส่งผลให้เกิดแก๊สมากขึ้นในลำไส้ ทำให้รู้สึกท้องอืดขึ้นมาบ่อยๆ นั่นเอง

แต่โดยมากแล้วอาการท้องอืดขณะตั้งครรภ์นั้นไม่ถือว่าเป็นอันตราย

4. แพ้ท้องตอนเย็น ปกติไหม

อาการแพ้ท้องไม่ได้จำกัดเวลาที่เกิดขึ้น ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถแพ้ได้ทั้งวัน หรืออาจจะแค่ช่วงเช้า หรือแค่ช่วงเย็นก็สามารถเป็นไปได้ทั้งนั้น โดยไม่ถือว่ามีความผิดปกติแต่อย่างใดด

5. กินข้าวไม่ได้ กินอะไรไม่ได้เลย จะเป็นอันตรายต่อลูกในท้องไหม

ขณะตั้งท้องคุณแม่จำเป็นที่จะต้องกินอาหารให้หลากหลายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อให้ตัวเองแข็งแรง และลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโต

อย่างไรก็ตาม อาการแพ้ท้องมักทำให้กินอะไรไม่ค่อยได้ กินเข้าไปนิดๆ หน่อยๆ ก็อาเจียนออกมา ซึ่งอาการเหล่านี้มักพบได้มากในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งโดยมากแล้วอาการแพ้จนกินอะไรไม่ค่อยได้นั้นไม่ถือว่าอันตรายอะไร แต่คุณแม่จำเป็นจะต้องปรับพฤติกรรมการกิน และพยายามกินอาหารให้ได้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร หรือเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ

6. กินยาแก้แพ้ช่วยได้ไหม

โดยมากแล้วอาการแพ้ท้องไม่จำเป็นต้องกินยา เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการกินและพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่ในกรณีที่พยายามปรับรูปแบบการใช้ชีวิตแล้วแต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น แพทย์ก็อาจสั่งจ่ายยาบางชนิดที่อาจช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ได้แก่ วิตามินบี 6 และยาดอกซีลามีน (Doxylamine) ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อแม่และทารกในครรภ?

อย่างไรก็ตาม ควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สั่งจ่ายยา และไม่ควรซื้อยามากินเอง

7. ง่วงนอนทั้งวัน กินกาแฟได้ไหม

คนท้องสามารถดื่มกาแฟได้ แต่…ควรดื่มในปริมาณน้อย คือไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากดื่มมากเกินไป คาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟอาจจะส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ หรือทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน หนักกว่าเดิม

8. เหม็นสามี เกิดจากอะไร

ขณะตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของฮอร์โมนในร่างกายนี้จะส่งผลให้คนท้องรู้สึกไวต่อรสชาติและกลิ่นต่างๆ กลิ่นที่เคยชอบหรือรู้สึกเฉยๆ ก็อาจกลายเป็นรู้สึกเหม็นจนเกินจะทนไหว ซึ่งนั่นก็อาจจะรวมถึงกลิ่นตัวของสามีด้วย ซึ่งกลิ่นสามีนี้อาจหมายถึงกลิ่นตัว หรือกลิ่นโรลออน หรือกลิ่นน้ำหอมของสามีก็ได้

 

แม่ท้องบางคนมีอาการแพ้ท้องแค่เพียงเล็กน้อย ขณะที่แม่ท้องอีกหลายคนไม่มีอาการเลย ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และไม่ได้แสดงถึงความผิดปกติใดในการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่น้อยหรือมากเกินไปจนก่อให้เกิดอาการแพ้ท้องรุนแรง

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  lacapilladelabolsa.com

สนับสนุนโดย  ufabet369